ศัพท์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Chapter
1
ความหมายของระบบเครือข่าย
Computer Network
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
ผ่านตัวกลาง (หรือสาย cable) เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับ-ส่งข้อมูล
ตลอดจนการนำทรัพยากรมาใช้ร่วมกันได้ และประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย
ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ของแต่ละระบบ Network ที่ได้ถูกตั้งขึ้นมาว่า
ต้องการเน้นการใช้งานระบบ Network นั้นเพื่องานใด
Personal Computer ใช้ตัวย่อว่า PC หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทำขึ้นไว้ใช้เป็นการเฉพาะหรือส่วนบุคคล
ส่วนมากจะหมายถึงไมโครคอมพิวเตอร์ (ก่อนหน้านี้ จะมีขายก็แต่คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่)
ซึ่งเน้นในเรื่องของการเคลื่อนย้ายได้สะดวก
Resource แปลว่า ทรัพยากร ซึ่งทรัพยากรในที่นี้หมายถึง
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk), ปริ๊นเตอร์ (Printer) หรือ ฮาร์ดแวร์ (Hard ware) อื่นๆ
แล้วแต่การนำไปประยุคใช้เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และการใช้งานสูงสุด
Local Area Network:
LAN หรือเครือข่ายเฉพาะที่
เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง
LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ
กัน เช่น อยู่ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น
Metropolitan
Area Network: MAN หรือเครือข่ายเมือง เป็นกลุ่มของเครือข่าย
LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น
ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
Wide Area Network:
WAN
หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ
โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว
ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง บางครั้งครอบคลุมไปทั่วประเทศ
หรือทั่วโลก อย่างเช่น อินเตอร์เน็ตก็จัดว่าเป็นเครือข่าย WAN ประเภทหนึ่ง แต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
Maintenance การบำรุงรักษา, กิจกรรมต่างๆที่ทำให้อุปกรณ์หรือโปรแกรมให้ทำงานตามปกติอยู่ตลอดเวลา
หรือเป็นการซ่อมแซม บำรุงเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่หมดอายุการใช้งานหรือชำรุดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
Share Disks pace เป็นการใช้งาน ร่วมกันของเนื้อหาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งรวม Hard disk และ CD ROMS ซึ่งจะใช้ Hard disk หรือ CD ROMS จากเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) ที่เรียกว่า File Server โดย File Server นี้จะเป็นเครื่องที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ User และ Software ของระบบทั้งหมด รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบ Network ด้วย
Share Communication Devices เป็นอุปกรณ์สื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกัน เช่น Modem ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
Share Software Packages
ในปัจจุบันสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ก็คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ทาง Software
ถ้ามีเครื่องมือคอมพิวเตอร์ (PC)
แต่ละเครื่องใช้งานแยกกันอยู่ก็จำเป็นที่จะต้องซื้อ Software ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายมาใช้งาน นั้นคือ 1 ชุดต่อ 1 เครื่อง
รวมทั้งยังต้องคอยระวังในเรื่องของการ Copy Software มาใช้งานเองของ
User แต่ละคนด้วย การนำระบบ Network มาใช้งานจะช่วยลดปัญหาของการทำผิดทางกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ได้
Multi-users
หมายถึง User
สามารถใช้โปรแกรมหรือข้อมูลเดียวกันได้ครั้งละหลายๆ คนซึ่ง Network
นั้นสามารถใช้งานระบบนี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้ในปัจจุบันผู้ใช้งานระบบ
Multi-users หรือ Mini Computer
ได้หันมาเล็งเห็นถึงความสำคัญ ของระบบ Network และเริ่มใช้งานระบบนี้มากยิ่งขึ้น
E-mail (Electronic Mail) User แต่ละคนสามารถส่งและรับข้อมูลหรือข่าวสารซึ่งกันและกันได้
โดยผ่านทาง Workstation ของตนเอง
Database สามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวกันได้พร้อมๆ กัน
Database สามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวกันได้พร้อมๆ กัน
Per User
License
คือ
Software
ที่จะต้องระบุจำนวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใดแต่ในการทำงานจริงๆแล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้
___________________________________________________________________________
Chapter
2
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
NIC (Network Interface Card) เน็ตเวิร์คการ์ดเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย
ส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC (Network Interface Card) หรือบางทีเรียกว่า
แลนการ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้
ปัจจุบันนี้มีการ์ดหลายประเภท ซึ่งถูกแบบให้ใช้กับเครือข่ายประเภทต่างๆ เช่น
อีเธอร์เน็ตการ์ด
โทเคนริงการ์ด เป็นต้น การ์ดแต่ละประเภทอาจใช้ได้กับสายสัญญาณบางชนิดเท่านั้น หรืออาจจะใช้ได้กับสัญญาณหลายชนิด
โทเคนริงการ์ด เป็นต้น การ์ดแต่ละประเภทอาจใช้ได้กับสายสัญญาณบางชนิดเท่านั้น หรืออาจจะใช้ได้กับสัญญาณหลายชนิด
Protocol
เป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นต้องใช้ภาษา
หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น OSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น
NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่าย ของผู้ใช้แต่ละคน หรือเป็นตัวจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่เป็นที่นิยม เช่น Windows Server 2007Novell NetWare, Sun Solaris และ Red Hat Linux เป็นต้น
Server Computer เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการงานต่างๆ
ลักษณะการทำงานของมันจะถูกแบ่งหน้าที่ไปตามส่วนที่ให้บริการด้านต่างๆ เช่น เว็บ
เซิร์ฟเวอร์, เซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล, ไฟล์
เซิร์ฟเวอร์NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่าย ของผู้ใช้แต่ละคน หรือเป็นตัวจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่เป็นที่นิยม เช่น Windows Server 2007Novell NetWare, Sun Solaris และ Red Hat Linux เป็นต้น
Client คือ เครื่องที่ติดต่อกับ user โดยทั่วไปทำหน้าที่เป็นเหมือนหน้าต่างให้ที่รับและแสดงข้อมูลจากเครื่องแม่ (Server)
Coaxial Cable สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติก กั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
Twisted Pairs ลักษณะของสายคู่บิดเกลียวแต่ละคู่จะทำด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นจะมีฉนวนหุ้ม พันกันเป็นเกลียวเพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นอกจากนี้สายคู่บิดเกลียวยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทที่ไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน หรือเรียกว่าสายยูทีพี (UTP: Unshielded Twisted-Pair Cable) กับแบบที่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน หรือเรียกว่าสายเอสทีพี (STP: Shielded Twisted-Pair cable)
Fiber Optic
เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก
เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็กทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ
คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับ
ความเร็วของแสง
Hub เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องจำนวนมากเข้าด้วยกันในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยที่ฮับจะมีพอร์ต (Port) หรือช่องสำหรับต่อสาย RJ-45 เข้ามาจากเครื่องคอมพิวเตอร์และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการกระจายข้อมูล ไปยังเครื่องอื่นๆ
Switch เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายลักษณะเดียวกับฮับและมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่วงจรการทำงานภายในจะใช้หลักการของวงจรสวิตชิ่งที่สลับการส่งข้อมูลในแต่ละพอร์ตไปมาไม่ได้แบ่งช่องทางการส่งผ่านข้อมูลเหมือนฮับจึงทำให้แต่ละพอร์ต (Port) มีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่าฮับ
Repeater
เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิล 2 เส้นเข้าด้วยกัน
เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
สายสัญญาญแต่ละชนิดที่เลือกใช้จะมีความสามารถในการขนส่งข้อมูลไปในระยะทางที่จำกัดระยะหนึ่ง
ตามมาตรฐานของสายสัญญาณแต่ละชนิด จากนั้นสัญญาณข้อมูลจะถูกดูดกลืนไปตามสายทำให้สัญญาณข้อมูลอ่อนลง
หากต้องการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายออกไปไกลเกินกว่าสายสัญญาณที่ใช้จะรองรับได้จะต้องใช้รีพีตเตอร์ช่วยในการขยายสัญญาณข้อมูล
Bridge บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่งข้อมูลแบบแพร่กระจาย ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้น ส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายใน เครือข่ายของตน ไม่ปะปนไปยังอักเครือข่ายหนึ่งเพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสาร มากเกินไป
Router เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เสมือนสะพานสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่น หรือระบบเครือข่าย LAN (Local Area Network) เข้ากับระบบเครือข่าย WAN (Wide Area Network) ขนาดใหญ่และเมื่อเครือข่าย LAN ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยใช้เราท์เตอร์เครือข่าย LAN แต่ละฝั่งจะยังคงมีเครือข่ายที่เป็นของตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายของอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการเครือข่ายภายใน
Gateway เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากกว่าเราท์เตอร์หรือบริดจ์
เพราะ
อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลใน
Data link และ Network
Layer ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2 ระบบ การท
างานของเกตเวย์ทุกระดับชั้นจะเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/OSI Model เกตเวย์สามารถเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง
หรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลในโปรแกรมประยุกต์ได้
Protocol เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์
หรืออาจกล่าวได้ว่าโปรโตคอลเป็น ภาษา ที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน
ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสื่อสารกันจำเป็นที่ต้องใช้ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกัน
เพราะไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะสื่อสารกันไม่ได้
___________________________________________________________________________
Chapter
3
การสื่อสารข้อมูล
Data
Communications หมายถึง
กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล
เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
DTE (Data Terminal Equipment) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์
เทอร์มินัลคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
DCE (Data Communication Equipment) เป็นอุปกรณ์ในการรับ/ส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม Fibrotic Infrared Wireless เป็นต้น
Broadband การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบบรอดแบนด์ (Broadband)
เป็น การใช้ช่องทองการสื่อสารหลายช่องทางเพื่อส่งสัญญาณอนาล็อก โดยแต่ละครั้งข้อมูลสามารถจัดส่งหรือลำเลียงบนช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการส่งสัญญาณชนิดนี้จะมีระบบการจัดการที่ยุ่งยากกว่าการส่งสัญญาณแบบ
เบสแบนด์มาก เพราะจะต้องจัดการกับจำนวนข้อมูลต่างๆ
ที่ลำเลียงอยู่บนหลายช่องความถี่บนสายส่ง สำหรับสื่อกลางข้อมูลที่นำมาใช้เพื่อส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์นั้น
จะรับรองความเร็วที่สูงกว่าแบบเบสแบนด์ และมีต้นทุนสูงกว่า
โดยปัจจุบันมักมีการนำเทคโนโลยีบรอดแบนด์มาใช้งานตามบ้านเรือนที่พักหรือองค์กรธุรกิจมากขึ้น
เช่น เทคโนโลยีบรอดแบนด์อินเทอร์ เน็ตเป็นต้น
Baseband การส่งสัญญาณบนสื่อกลางแบบเบสแบนด์ (Baseband) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสำหรับการส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง
โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้การส่งสัญญาณชนิดนี้
เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถจัดการควบคุมง่าย
Cellular Radio เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล
เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ
Microwave การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ
กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ
30 - 50 กม.
Satellite
ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด
(Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า
"สัญญาณอัปลิงค์" และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า
"สัญญาณดาวน์ลิงค์"
Bluetooth ลักษณะของบลูทูธเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1998 ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz. สื่อสารได้ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ได้
Infrared ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมนำมาใช้งานสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ และรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ และกล้องดิจิทัล
Wireless เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย คอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน
___________________________________________________________________________
Chapter
4
ประเภทของเครือข่าย
Local Area Network : LAN เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบทุกๆ
เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN
อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น
มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณ ไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน
เช่น มีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอีกมาก
Metropolitan Area Network: MAN เครือข่ายแมนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแลน
เป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือจังหวัดเดียวกัน
โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น
การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆ ในเขตเมือง เพื่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กร
Wide
Area Network: WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง
หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี
WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน
Peer to Peer Network เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถ แบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่อง
พิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน
Client/Server Network แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ
ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ
File Server ลักษณะการทำงานแบบนี้ เซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดการระบบไฟล์บนดิสก์ในเครื่องของตนเอง
Application Server/ Database Server เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server
Print Server เรียกว่าระบบ SPOOL (Simultaneous Peripheral Operation On-Line) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้พร้อมกันหลายคน
File Server ลักษณะการทำงานแบบนี้ เซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดการระบบไฟล์บนดิสก์ในเครื่องของตนเอง
Application Server/ Database Server เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server
Print Server เรียกว่าระบบ SPOOL (Simultaneous Peripheral Operation On-Line) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้พร้อมกันหลายคน
Internet เครือข่ายสาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก
ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อ
Intranet เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น
Extranet เครือข่ายร่วม หรือเอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท
Ethernet LAN หรือเรียกว่าเครือข่ายแลนแบบมีสาย โดยในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 มาตรฐานใหญ่ๆ คือ Fast Ethernet LAN และ Gigabit Ethernet LAN (นอกจากนั้นยังมีมาตรฐาน 10 Gigabit Ethernet ที่จะตามมาในอนาคตด้วย)
Intranet เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น
Extranet เครือข่ายร่วม หรือเอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท
___________________________________________________________________________
Chapter
5
มาตรฐานการเชื่อมต่อ
และสถาปัตยกรรมเครือข่าย
OSI (Open Systems Interconnect)
Model เป็นแบบจำลองที่อธิบายถึงโครงสร้างการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน
โดยได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นในปี 1984 โดย Open Systems Interconnect นั่นเอง การเรียงตัวของเลเยอร์จะถูกจัดจากบนลงล่าง โดยประกอบไปด้วยเลเยอร์
Application, Presentation, Session, Transport, Network, Data Link และ Physical
Physical Layer เป็นเลเยอร์ล่างสุดสำหรับจัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และกลไกการทำงานในการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
Data Link Layer เป็นเลเยอร์สำหรับการจัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย และตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นใน Physical Layer
Transport Layer เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่จัดเตรียมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน จัดเตรียมข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้กับเลเยอร์ถัดไป
Network Layer เป็นเลเยอร์ที่จัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางภายในเครือข่าย
Session Layer เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมเซสชั่น (Session) การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จัดการการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งแบบ Full-duplex, Half-duplex และ Simplex
Presentation Layer เป็นเลเยอร์สำหรับจัดเตรียมการรับและจัดโครงสร้างของข้อมูล เพื่อส่งต่อให้เลเยอร์ถัดไป โดยอาจมีการแปลข้อความที่ได้เป็นโค้ด หรือมีการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
Application Layer เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นการจัดเตรียมแอพพลิเคชั่นไว้ให้คอยบริการใช้งาน รูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย
Physical Layer เป็นเลเยอร์ล่างสุดสำหรับจัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และกลไกการทำงานในการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
Data Link Layer เป็นเลเยอร์สำหรับการจัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย และตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นใน Physical Layer
Transport Layer เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่จัดเตรียมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน จัดเตรียมข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้กับเลเยอร์ถัดไป
Network Layer เป็นเลเยอร์ที่จัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางภายในเครือข่าย
Session Layer เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมเซสชั่น (Session) การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จัดการการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งแบบ Full-duplex, Half-duplex และ Simplex
Presentation Layer เป็นเลเยอร์สำหรับจัดเตรียมการรับและจัดโครงสร้างของข้อมูล เพื่อส่งต่อให้เลเยอร์ถัดไป โดยอาจมีการแปลข้อความที่ได้เป็นโค้ด หรือมีการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
Application Layer เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นการจัดเตรียมแอพพลิเคชั่นไว้ให้คอยบริการใช้งาน รูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย
IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)
เป็นองค์กร สากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทาง ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน
เป็นองค์กร สากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทาง ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน
Ethernet LAN หรือเรียกว่าเครือข่ายแลนแบบมีสาย โดยในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 มาตรฐานใหญ่ๆ คือ Fast Ethernet LAN และ Gigabit Ethernet LAN (นอกจากนั้นยังมีมาตรฐาน 10 Gigabit Ethernet ที่จะตามมาในอนาคตด้วย)
มาตรฐาน Fast
Ethernet ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่
10-100 Mbps เหมาะสำหรับการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กและขนาดกลาง
มาตรฐาน Gigabit Ethernet เนื่องจากระบบเครือข่าย Ethernet แบบเก่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนาความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลให้สูงขึ้นไปอีก ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 1000 Mbps จะเป็นการเชื่อมต่อในลักษณะโทโปโลยีแบบดาว (Star) และแบบวงแหวน (Ring)
มาตรฐาน Gigabit Ethernet เนื่องจากระบบเครือข่าย Ethernet แบบเก่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนาความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลให้สูงขึ้นไปอีก ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 1000 Mbps จะเป็นการเชื่อมต่อในลักษณะโทโปโลยีแบบดาว (Star) และแบบวงแหวน (Ring)